ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ประเทศกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
บทความนี้เกี่ยวกับประเทศกัมพูชา สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กัมพูชา (แก้ความกำกวม)
“ราชอาณาจักรกัมพูชา” เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับกัมพูชาในสงครามเย็น ดูที่ ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)
ราชอาณาจักรกัมพูชา

ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា (เขมร)
   
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
(ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
เพลงชาตินครราช
เพลงสรรเสริญพระบารมีนครราช
 
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
พนมเปญ
11°33′N 104°55′E / 11.55°N 104.917°E / 11.55; 104.917
ภาษาทางการ ภาษาเขมร
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 –  พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
 –  นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
ก่อตั้ง
 –  อาณาจักรฟูนัน 611 
 –  อาณาจักรเจนละ 1093 
 –  จักรวรรดิแขมร์ 1345 
 –  ตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส 2406 
 –  ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส 9 พฤศจิกายน 2496 
 –  ฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ 24 กันยายน 2536 
พื้นที่
 –  รวม 181,035 ตร.กม. (88)
69,898 ตร.ไมล์ 
 –  แหล่งน้ำ (%) 2.5
ประชากร
 –  2554 (ประเมิน) 14,805,358[1] (66)
 –  2551 (สำมะโน) 13,388,910 
 –  ความหนาแน่น 81.8 คน/ตร.กม. (118)
211.8 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2554 (ประมาณ)
 –  รวม 32,489 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ[2] 
 –  ต่อหัว 2,470 ดอลลาร์สหรัฐ[2] 
จีนี (2550) 43[3] (ปานกลาง) 
ดพม. (2554) 0.523[4] (ปานกลาง) (139)
สกุลเงิน เรียลกัมพูชา (KHR)
เขตเวลา (UTC+7)
 –  (DST)  (UTC+7)
ระบบจราจร ขวามือ
โดเมนบนสุด .kh
รหัสโทรศัพท์ +855
เงินดอลลาร์สหรัฐใช้กันแพร่หลาย

กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา (เขมร: ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา “พระราชาณาจักรกัมพูชา”) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย

ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจามและชาวเขากว่า 30 เผ่า[5] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา

ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี

ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกนมานั้นได้ครอบงำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากเป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง

ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ ประเทศกัมพูชาได้มีหนึ่งในบันทึกเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศ[6] ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา และเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมันสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างลึกซึ้ง[7]

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] ยุคมืดของกัมพูชา

ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดน ประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ400ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

[แก้] สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส

กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกจากกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะสงคราม กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู้ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศสในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม

[แก้] การเมือง

สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด

 

[แก้] การสืบราชสันตติวงศ์

ไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชา ไม่เสมอไปที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผู้มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป ( ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในราชวงศ์ หรือลูกคนโตของกษัตริย์องค์ก่อน เป็นต้น) และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นั้นคือ ราชสภาเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะได้รับการสืบราชสันตติวงศ์ (Literally: ราชสภาเพื่อราชบัลลังก์) (Royal Council of the Throne) ซึ่งมีสมาชิกดังนี้ 1). ประธานสภารัฐสภา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Radhsaphea ney Preah Reacheanachak Kampuchea: รัฐสเภียะ เนะ เพรียะ เรียะชอาณาจักร กัมปูเชีย) 2). นายกรัฐมนตรี 3).พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายมหานิกาย 4). พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย 5).รองประธานรัฐสภาคนที่หนึ่ง และ 6).รองประธานสภาคนที่สอง ราชสภาจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์ สวรรคตหรือ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผู้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ดูบทความหลักที่ เขตการปกครองของกัมพูชา

ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด[ต้องการอ้างอิง] (เขต: provinces; khet) และ 4 เทศบาล* (กรุง: municipalities; krung)

ชื่อ เมืองเอก พื้นที่ (กม.²) ประชากร
(ปี 2541)
1.ខេត្តបន្ទាយមានជ័យ บันทายมีชัย / บันเตียเมียนเจย (Banteay Meanchey) เมืองศรีโสภณ 6,679 577,772
2. พระตะบอง / บัดด็อมบอง (Battambang) เมืองพระตะบอง 11,702 793,129
3.ខេត្តកំពង់ចាម กำปงจาม / ก็อมปวงจาม (Kampong Cham) เมืองกำปงจาม 9,799 1,608,914
4.ខេត្តកំពង់ឆ្នាំង กำปงชนัง / ก็อมปวงชนัง (Kampong Chhnang) เมืองกำปงชนัง 5,421 417,693
5.ខេត្តកំពង់ស្ពឺ กำปงสปือ / ก็อมปวงสปือ (Kampong Speu) เมืองกำปงสปือ 7,017 598,882
6.ខេត្តកំពង់ធំ กำปงธม / ก็อมปวงต็วม (Kampong Thom) เมืองกำปงธม 13,814 569,060
7.ខេត្តកំពត กำปอด / กำโพธิ (Kampot) เมืองกำโพธิ 4,873 528,405
8.ខេត្តកណ្តាល กันดาล / ก็อนดาล (Kandal) เมืองท่าเขมา 3,568 1,075,125
9.ខេត្តកោះកុង เกาะกง / เกาะฮฺกง (Koh Kong) กรุงเกาะกง 11,160 132,106
10.កែប แกบ* (Kep) 336 28,660
11.ខេត្តក្រចេះ กระแจะ (Kratié) เมืองกระแจะ 11,094 263,175
12.ខេត្តមណ្ឌលគីរី มณฑลคีรี / ม็อนด็อลกิรี (Mondulkiri) เมืองแสนมโนรมย์ 14,228 32,407
13.ខេត្តឧត្តរមានជ័យ อุดรมีชัย / โอดดาร์เมียนเจีย (Oddar Meancheay) เมืองสำโรง 6,158 68,279
14.ក្រុងប៉ែលិន ไพลิน* (Pailin) 803 22,906
15.ក្រុងភ្នំពេញ พนมเปญ / พนุมเป็ญ* (Phnom Penh) 376 2,009,264
16.ក្រុងព្រះសីហនុ สีหนุวิลล์ / กรุงพระสีหนุ
กำปงโสม /ก็อมปงโซม
* (Sihanoukville, Kampong Som)
868 235,190
17.ខេត្តព្រះវិហារ พระวิหาร / เปรียะฮ์วิเหียร์ (Preah Vihear) เมืองพนมตะเบงเมียนไจย 13,788 119,261
18.ខេត្តពោធិសាត់ โพธิสัตว์ / โพธิ์ซัด (Pursat) เมืองโพธิสัตว์ 12,692 360,445
19.ខេត្តព្រែវែង ไพรแวง (Prey Veng) เมืองเปรยแวง 4,883 946,042
20. รัตนคีรี (Ratanakiri) เมืองบ้านลุง 10,782 94,243
21.ខេត្តសៀមរាប เสียมราฐ / เสียมเรียบ (Siem Reap) เมืองเสียมเรียบ 10,299 696,164
22.ខេត្តស្ទឹងត្រែង สตึงแตรง (Stung Treng) เมืองสตรึงแตรง 11,092 81,074
23.ខេត្តស្វាយរៀង สวายเรียง (Svay Rieng) เมืองสวายเรียง 2,966 478,252
24.ខេត្តតាកែវ ตาแก้ว (Takéo) เมืองตาแก้ว 3,563 790,168

 

เมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา
(จากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2008)

  ที่ เมือง จังหวัด ประชากร  
พนมเปญ

พระตะบอง

1 พนมเปญ พนมเปญ 2,234,566 เสียมราฐ

สีหนุวิลล์

2 พระตะบอง พระตะบอง 250,000
3 เสียมราฐ เสียมราฐ 171,800
4 สีหนุวิลล์ สีหนุวิลล์ 132,000
5 ปอยเปต บันเตียเมียนเจย 89,549
6 เปรยแวง เปรยแวง 74,000
7 กำปงจาม กำปงจาม 63,770
8 ศรีโสภณ บันเตียเมียนเจย 61,631
9 ตาคเมา กันดาล 58,264
10 โพธิสัตว์ โพธิสัตว์ 57,000

 

[แก้] ภูมิประเทศ

 

ทะเลสาบยักษ์ลูม

 

โตนเลสาบ

กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
  • ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
  • ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย

เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

[แก้] แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ

  1. แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
  2. แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
  3. แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
  4. ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด

[แก้] ภูเขา

ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น

[แก้] ป่าไม้

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น

 อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่

ใส่ความเห็น